วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 3 นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่ 3 นิทานเวตาล

นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

ความเป็นมา

                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ

                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461

                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่


ประวัติผู้แต่ง

            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส



ลักษณะคำประพันธ์

           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.” 


วิดีโอประกอบ


บทที่ 2 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงปรับแก้ให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง และรสนิยมของคนไทย

 ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
         ลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร แต่มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคจะขึ้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น และ มาจะกล่าวบทไป

 จุดมุ่งหมายของบทละคร เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
         เพื่อใช้ในการแสดงละครใน

รื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

          ด้านกษัติร์ย์อีกวงศ์หนึ่งคือ ท้าวกะหมังกุหนิง มีพระโอรสคือ วิหยาสะกำ ครองเมืองปาหยัง  และโอรสอีกพระองค์ครองเมืองปะหมันสลัด วันหนึ่งวิหยาสะกำได้เสด็จประพาสป่า ได้เจอรูปนางบุษบาที่หายไป จึงคลั่งไคล้นางบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสืบเรื่องและให้ทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิง จึงตั้งใจจะยกทัพมาแย่งชิงนางบุษบาไป โดยให้ระตูปาหยังและระตูปะหมัน พระอนุชายกทัพมาช่วย โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า และพระอนุชาทั้งสองคนเป็นทัพหลัง

         ด้านท้าวดาหา เมื่อทราบความว่าท้าวกะหมังกุหนิงเตรียมยกทัพมาตี จึงได้ขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันจึงได้ส่งพระราชสาสน์มาฉบับหนึ่ง เพื่อให้อิเหนายกทัพมาช่วย อีกฉบับส่งให้ระตูหมันหยา พร้อมตำหนิที่นางจินตะหราวาตี ลูกสาวของระตูหมันหยา เป็นต้นเหตุของการเกิดศึกนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงส่งทัพไปช่วยอิเหนา ด้านท้าวกาหลังก็ให้ ตำมะหงงกับดะหมังมาช่วย และท้าวสิงหัดส่าหรีก็ส่งสุหรานากงมาช่วยเช่นกัน จนกระทั่งถึงเมืองดาหา อิเหนาจึงมีบัญชาให้รบกับท้าวกะหมังกุหนิง


         เมื่อทั้งสองฝ่าย ฝ่ายทัพของท้าวดาหาและท้าวกะหมังกุหนิงเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาก็ต่อสู้กับวิหยาสะกำ ซึ่งวิหยาสะกำเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำถูกสังคามาระตาสังหาร เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงเห็นลูกตายก็โกรธ จึงควบม้าไล่ตามสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดเอาไว้และทั้งสองจึงต่อสู้กัน แต่อิเหนามองว่าท้าวกะหมังกุหนิงเก่งเพลงดาบจึงขอให้ใช้กริชสู้ สุดท้ายอิเหนาใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิง ระตูปะหมันและระตูปาหยัง คิดว่าทัพของอิเหนานั้นยิ่งใหญ่เกินจะต้านทาน ไพร่พลจึงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ระตูทั้งสองจึงขอยอมแพ้อิเหนาพร้อมทั้งเข้าเฝ้า และคร่ำครวญว่ากะหมังกุหนิงไม่เคยรบแพ้ใคร แต่เพราะรักลูกมากเกินไปจึงติดประมาท วิหยาสะกำเองก็ตายตั้งแต่อายุยังน้อย แม้จะมีความกล้าหาญมากก็ตาม

ที่มา https://hilight.kapook.com/view/88424

บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ

บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ

          คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.      ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
-                   พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
      คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ
      คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
     คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
     คำนมัสการพระอาจริยคุณ ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
๒.    ประวัติผู้แต่ง
          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย

คำนมัสการพระพุทธคุณ
   อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                             องค์ใดพระสัมพุทธ              สุวิสุทธะสันดาน
                                             ตัดมูลกิเลสมาร                   บ่มิหม่นมิหมองมัว
                                             หนึ่งในพระทัยท่าน             ก็เบิกบานคือดอกบัว
                                             ราคีบ่พันพัว                         สุวคนธะกำจร
                                             องค์ใดประกอบด้วย            พระกรุณาดังสาคร
                                             โปรดหมู่ประชากร              มละโอฆะกันดาร
                                             ชี้ทางบรรเทาทุกข์                และชี้สุขเกษมสานต์
                                             ชี้ทางพระนฤพาน                อันพ้นโศกวิโยคภัย
                                            พร้อมเบญจพิธจัก-              ษุจรัสวิมลใส
                                             เห็นเหตุที่ใกล้ไกล               ก็เจนจบประจักษ์จริง
                                            กำจัดน้ำใจหยาบ                 สันดานบาปแห่งชายหญิง
                                            สัตว์โลกได้พึ่งพิง                มละบาปบำเพ็ญบุญ
                                            ลูกขอประณตน้อม              ศิรเกล้าบังคมคุณ
                                            สัมพุทธการุญ-                    ยภาพนั้นนิรันดร ฯ

คำนมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
                 ธรรมะคือคุณากร
ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
            แห่งองค์พระศาสดาจารย์ 
ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
            ธรรมใดนับโดยมรรคผล 
เป็นแปดพึงยล
และเก้านับทั้งนฤพาน
            สมญาโลกอุดรพิสดาร 
อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
            อีกธรรมต้นทางครรไล
นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
            คือทางดำเนินดุจครอง
ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
            ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ 
นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจาฯ 
 
คำนมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
สงฆ์ใดสาวกศาสดา
รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร
ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง
บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-
ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล
มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-
พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์
พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย
อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ 



                                                              คำนมัสการมาตาปิตุคุณ
 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                                   ข้าขอนบชนกคุณ                 ชนนีเป็นเค้ามูล
                                                   ผู้กอบนุกูลพูน                      ผดุงจวบเจริญวัย
                                                   ฟูมฟักทะนุถนอม                 บ บำราศนิราไกล
                                                   แสนยากเท่าไรไร                  บ คิดยากลำบากกาย
                                                   ตรากทนระคนทุกข์               ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
                                                   ปกป้องซึ่งอันตราย                จนได้รอดเป็นกายา
                                                   เปรียบหนักชนกคุณ               ชนนีคือภูผา
                                                   ใหญ่พื้นพสุนธรา                   ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
                                                    เหลือที่จะแทนทด                 จะสนองคุณานันต์
                                                    แท้บูชไนยอัน                        อุดมเลิศประเสริฐคุณ

คำนมัสการอาจริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                อนึ่งข้าคำนับนอบ                                       ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน
อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ
ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน
ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา
และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์
ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม
หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์
ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ
ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน
จิตน้อมนิยมชม